ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นางสาว ปาณิตา อ่อนแป้น ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู เชิญเข้าชมค่ะ

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม


ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม ดวงเดือน พันธุมนาวิน ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงสาเหตุพฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง โดยได้ทำการประมวลผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 6-60 ปี ว่าพฤติกรรมเหล่านั้น มีสาเหตุทางจิตใจอะไรบ้าง และ ได้นำมาประยุกต์เป็นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทยขึ้น โดยแบ่งต้นไม้จริยธรรม ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ ดอกและผลไม้บนต้น ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำดีละเว้นชั่วและพฤติกรรมการทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อส่วนรวม ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมของพลเมืองดี พฤติกรรมที่เอื้อเฟื้อต่อการพัฒนาประเทศ ส่วนที่สอง ได้แก่ ส่วนลำต้นของต้นไม้ แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่าง ขยันขันแข็ง ซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ด้าน คือ  1) เหตุผลเชิงจริยธรรม  2) มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง  3) ความเชื่ออำนาจในตน  4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  5) ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยม ส่วนที่สาม ได้แก่ รากของต้นไม้ ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็งซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 3 ด้าน คือ  1) สติปัญญา  2) ประสบการณ์ทางสังคม  3) สุขภาพจิตภาพที่ 1 ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม แสดงจิตลักษณะพื้นฐาน และองค์ประกอบทางจิตใจ ของพฤติกรรมทางจริยธรรมจิตลักษณะทั้งสามนี้อาจใช้เป็นสาเหตุของการพัฒนาจิตลักษณะ 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ก็ได้ กล่าวคือ บุคคลจะต้องมีลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 3 ด้าน ในปริมาณที่สูงพอเหมาะกับอายุ จึงจะเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาจิตลักษณะทั้ง 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ โดยที่จิตทั้ง 5 ลักษณะนี้จะพัฒนาไปเองโดยอัตโนมัติ ถ้าบุคคลที่มีความพร้อมทางจิตใจ 3 ด้านดังกล่าวและอยู่ในสภาพแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมที่เหมาะสม นอกจากนั้นบุคคลยังมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาจิตลักษณะบางประการใน 5 ด้านนี้ โดยวิธีการอื่น ๆ ด้วย ฉะนั้นจิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ จึงเป็นสาเหตุของพฤติกรรมของคนดีและของคนเก่งนั่นเอง นอกจากนี้จิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการที่รากนี้ อาจเป็นสาเหตุร่วมกับจิตลักษณะ 5 ประการที่ลำต้น หากบุคคลมีพื้นฐานทางด้านจิตใจเป็นปกติและได้รับประสบการณ์ทางสังคมที่เหมาะสม บุคคลนั้นก็จะสามารถพัฒนาโดยธรรมชาติ แต่ในสังคมไทยมีการวิจัยพบว่าพัฒนาการหยุดชะงักอย่างไม่เหมาะสมกับวัย กล่าวคือ ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งซึ่งสมควรพัฒนาการใช้เหตุผลไปถึงขั้นสูงแล้วแต่ยังหยุดชะงักที่ขั้นต่ำ เช่น ยังยึดหลักแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนพวกพ้อง เป็นต้น บุคคลที่มีแรงจูงใจดังกล่าวจึงยังไม่สามารถคิดประโยชน์เพื่อสังคมได้ 

ดังนั้น บุคคลจึงควรมีการตรวจสอบจริยธรรมของตัวเองอยู่ตลอดเวลา การบันทึกกิจกรรมที่ได้กระทำแต่ละวันทำให้ได้ข้อมูล เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ ดีงามยิ่งขึ้น ซึ่งการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ได้กระทำ เสมือนการปฏิบัติธรรมโดยวิธี นั่งสมาธิ เพราะในขณะที่จิตกำลังทบทวนสิ่งที่ได้กระทำ เสมือนเป็นการพิจารณาตัวเอง พิจารณาการกระทำดีและไม่ดี ในขณะที่จิตพิจารณาก็จะเกิดสมาธิ และเมื่อได้พิจารณาตนเองแล้ว ก็สามารถเข้าใจตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเสมือนเกิดปัญญาในการนำพาชีวิตผ่านพ้นทุกข์ได้

ดังนั้น บุคคลจึงควรมีการตรวจสอบจริยธรรมของตัวเองอยู่ตลอดเวลา การบันทึกกิจกรรมที่ได้กระทำแต่ละวันทำให้ได้ข้อมูล เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ ดีงามยิ่งขึ้น ซึ่งการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ได้กระทำ เสมือนการปฏิบัติธรรมโดยวิธี นั่งสมาธิ เพราะในขณะที่จิตกำลังทบทวนสิ่งที่ได้กระทำ เสมือนเป็นการพิจารณาตัวเอง พิจารณาการกระทำดีและไม่ดี ในขณะที่จิตพิจารณาก็จะเกิดสมาธิ และเมื่อได้พิจารณาตนเองแล้ว ก็สามารถเข้าใจตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเสมือนเกิดปัญญาในการนำพาชีวิตผ่านพ้นทุกข์ได้ดังนั้น บุคคลจึงควรมีการตรวจสอบจริยธรรมของตัวเองอยู่ตลอดเวลา การบันทึกกิจกรรมที่ได้กระทำแต่ละวันทำให้ได้ข้อมูล เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ ดีงามยิ่งขึ้น ซึ่งการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ได้กระทำ เสมือนการปฏิบัติธรรมโดยวิธี นั่งสมาธิ เพราะในขณะที่จิตกำลังทบทวนสิ่งที่ได้กระทำ เสมือนเป็นการพิจารณาตัวเอง พิจารณาการกระทำดีและไม่ดี ในขณะที่จิตพิจารณาก็จะเกิดสมาธิ และเมื่อได้พิจารณาตนเองแล้ว ก็สามารถเข้าใจตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเสมือนเกิดปัญญาในการนำพาชีวิตผ่านพ้นทุกข์ได้

a

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา

              ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุง นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
   
           1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
   
           2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
   
           3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
   
           4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
   
           5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
   
           6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
   
           7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
   
           8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
   
           9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
   
           10. เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
    11. 
สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12. 
ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
รูปแบบการเรียนการสอน
     
เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)วิธีสอน
     
ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)  และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2  หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6  นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน